บทความ

บทความของไดนามิค เปย์เม้นท์

“เครดิตบูโร” ธุรกิจเสือนอนกิน 1,000 ล้าน "

เครดิตบูโร มีที่มาอย่างไร แล้วหารายได้มาจากอะไร ? 

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ NCB เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านข้อมูลสินเชื่อ ซึ่งจะมีการรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นสถาบันการเงิน ที่เป็นผู้ปล่อยกู้ 

โดยจะมีการให้ข้อมูลของผู้ที่มาขอสินเชื่อแก่สมาชิก เมื่อมีการร้องขอ เช่น ข้อมูลระบุตัวตน, ประวัติการได้รับสินเชื่อ, ประวัติการชำระหนี้, ประวัติการผ่อนชำระ เป็นต้น ซึ่งผู้ปล่อยกู้จะนำข้อมูล เพื่อไปประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อต่าง ๆ 

แล้ว NCB มีที่มาอย่างไร ?

จุดเริ่มต้นของ NCB มีขึ้นในปี 2504 โดยสมาคมธนาคารไทย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในไทยได้เข้าหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแนวคิดที่จะให้มีหน่วยงานกลาง สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสินเชื่อ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

โดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส.ได้ผลักดันให้ ธอส. เป็นหน่วยงานหลัก ในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้น โดยมีชื่อว่า บริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด

ในขณะที่ฝั่งธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้ก่อตั้ง บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ขึ้นในปี 2542 โดยมีธนาคารพาณิชย์ในไทย 13 ธนาคาร ร่วมถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน

ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด หลังมีการร่วมลงทุนของ TransUnion Inc. และบริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) จนมาถึงปี 2548 บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้ควบรวมกิจการกับบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด และเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ในปัจจุบัน

โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นดังนี้

- 24.5% กลุ่มธนาคารพาณิชย์ในไทย ถือหุ้นในสัดส่วนเท่า ๆ กัน

- 15% ธนาคารอาคารสงเคราะห์

- 15% บริษัท พีซีซี แคปปิตอล จำกัด

- 12.25% บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน)

- 12.25% TransUnion Inc.

- 9% ธนาคารออมสิน 

- 6% บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 

- 6% ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 

จะเห็นว่า NCB นั้น มีผู้ถือหุ้นหลักเป็นธนาคารต่าง ๆ ซึ่งก็มักจะมีสถานะเป็นลูกค้าไปด้วย หากมีการร้องขอข้อมูลเวลามีการขอสินเชื่อ

แล้ว NCB มีผลประกอบการเป็นอย่างไรบ้าง ?

ปี 2563 รายได้ 718 ล้านบาท กำไร 228 ล้านบาท

ปี 2564 รายได้ 912 ล้านบาท กำไร 330 ล้านบาท

ปี 2565 รายได้ 1,110 ล้านบาท กำไร 424 ล้านบาท

จะเห็นว่า NCB มีความสามารถในการทำกำไร 30 ถึง 40% เพราะองค์กร มีรายได้ประจำจากการขายข้อมูล 

ในขณะที่ ต้นทุนของ NCB ก็คือข้อมูลที่มาจากบรรดาสมาชิก ที่จะต้องนำส่งอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ต้องลงทุนอะไรเลย

สรุปแล้ว NCB เกิดมาจากการรวมตัวกัน ของทั้งหน่วยงานรัฐด้านการเงินการคลัง และบรรดาธนาคารต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อเป็นศูนย์กลาง ในการบริหารจัดการข้อมูล ที่มีรายได้ ระดับ 1,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..


ที่มา : https://www.longtunman.com/45722

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Share: