ข่าวสาร

สรุปจบ! ดิจิทัลวอลเล็ต ก่อนสิ้นปี 67 คนไทยจะได้รับเงิน 10,000 บาท หรือไม่ ?

ในขณะเดียวกัน การที่รัฐบาล ชี้แจงว่า จะมีพัฒนา และนำระบบเปิด (Open-loop) มาเป็นกลไกสำคัญ ในการใช้จ่ายเงินดิจิทัล สำหรับประชาชน และร้านค้านั้น ควรทดสอบให้รัดกุมครบถ้วน เพื่อไม่ให้ เกิดความเสี่ยง เชิงระบบ และกระทบต่อเสถียรภาพระบบการชำระเงินของประเทศด้วยด้านวิจัยกรุงศรี ยังให้ความเห็นว่า แม้ว่าจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับแหล่งที่มาของการระดมทุนสำหรับโครงการนี้ แต่ก็ยังมีอุปสรรคและความไม่แน่นอนรออยู่ข้างหน้าอาทิ กระบวนการระดมทุน เงื่อนไขการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กในระดับอำเภอ และระหว่างร้านค้ากับร้านค้าไม่จำกัดพื้นที่ การขึ้นเงินสดของร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีและต้องใช้จ่ายในรอบที่ 2 ขึ้นไปอีกด้วยโอกาสนี้ ThairathMoney ชวนทบทวน รายละเอียดสำคัญของ “โครงการดิจิทัลวอลเล็ต” ฉบับล่าสุด ทั้งแหล่งที่มาของงบประมาณ /ไทม์ไลน์การลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล และ เงื่อนไขการใช้จ่าย เพื่อให้เห็นภาพ ความเป็นได้ของโครงการ ดังนี้

  • ผู้ได้รับสิทธิ : คนไทย 50 ล้านคน (อายุ 16 ปีขึ้นไป )
  • ผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิ : มีรายได้เกิน 8.4 แสนบาทต่อปี  /มีเงินฝากธนาคารเกิน 5 แสนบาท

ไทม์ไลน์โครงการ

  • 23 เม.ย.67 ครม.อนุมัติหลักการ
  • ไตรมาส3/67 เปิดให้ร้านค้าและประชาชนลงทะเบียน
  • ไตรมาส4/67 หรือ ไตรมาส 1 /68 รัฐบาลเติมเงินดิจิทัล เริ่มใช้จ่ายตามเงื่อนไข (ระยะ 6 เดือน)

เงื่อนไขการใช้จ่าย"เงินดิจิทัล"

  • ใช้จ่ายผ่านร้านค้าขนาดเล็ก เขตพื้นที่อำเภอ (เซเว่น อีเลฟเว่นใช้ได้ )
  • การชำระเงินต้องเป็นแบบพบหน้า
  • การใช้จ่ายระหว่างร้านค้า ข้ามพื้นที่ได้ (ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านสะดวกซื้อในระบบภาษี ไม่รวม ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างฯ ร้านค้าออนไลน์ )
  • ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันที หลังประชาชนใช้จ่าย
  • ร้านค้าถอนเงินสดได้ หลังการใช้จ่าย รอบ 2 เป็นต้นไป

เงินดิจิทัลใช้จ่ายอะไรได้บ้าง

  • สินค้าทุกประเภท (ไม่รวมสินค้าออนไลน์ /การบริการ)

ไม่สามารถใช้จ่ายได้

  • สลากกินแบ่งรัฐบาล
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ยาสูบ
  • กัญชา
  • กระท่อม
  • บัตรของขวัญ
  • ทองคำ
  • เพชร
  • พลอย
  • อัญมณี
  • น้ำมัน-ก๊าซ

ระบบหลักของโครงการ

  • Super App ลักษณะ Open Loop ที่ธนาคารต่างๆ เข้าร่วมได้

ที่มาของเม็ดเงินโครงการ :  5 แสนล้านบาท

  • งบประมาณรายจ่ายปี 67 (175,000 ล้านบาท)
  • งบประมาณรายจ่ายปี 68 (152,700 ล้านบาท)
  • หน่วยงานรัฐ ธ.ก.ส. (172,300 ล้านบาท )

หมายเหตุ : คุณสมบัติและเงื่อนไขร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการได้ ต้องอยู่ในระบบภาษี (ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล)


ที่มา : https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2780589

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Share: