บทความ

บทความของไดนามิค เปย์เม้นท์

บทความวิเคราะห์รายงานทางเศรษฐกิจ(ประจำเดือนพฤษภาคม 2566)

ตารางภาวะเศรษฐกิจและการเงิน

เดือน / รายละเอียด

ธันวาคม 65

มกราคม 66

กุมภาพันธ์ 66

มีนาคม 66

ดัชนีราคาผู้บริโภค

107.86

108.18

108.05

107.76

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

93.58

99.51

99.34

104.97

อัตราการใช้กำลังการผลิต

59.56

62.16

62.77

66.06

ดุลการค้า

962.70

-2,670.02

1,310.55

4,304.78

ดุลบัญชีเดินสะพัด

967.38

-2,148.91

1,332.33

4,778.55

เงินฝาก

17,117.21

16,996.91

17,158.16

n.a.

เงินให้สินเชื่อ

18,329.76

18,361.43

18,696.03

n.a.

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
 
หมายเหตุดัชนีราคาผู้บริโภค มีปีฐานคือ 2562                เงินฝาก/เงินให้สินเชื่อ มีหน่วยเป็น พันล้านบาท
อัตราการใช้กำลังการผลิต มีหน่วยเป็น ร้อยละ   ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีปีฐานคือ 2559
ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด มีหน่วยเป็น ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

วิเคราะห์วัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยจะสิ้นสุดที่จุดไหน*



การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากแรงหนุนสำคัญของการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโตได้ดีตามอุปสงค์คงค้างของผู้บริโภค (Pent-up demand) และจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศคลี่คลาย โดยในปี 2023 นี้ ได้ปรับเพิ่มประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสู่ระดับ 30 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลบวกต่อการจ้างงานและรายได้แรงงาน รวมถึงเป็นแรงส่งต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชน นอกจากนี้ตลาดแรงงานได้ทยอยฟื้นตัวโดยเครื่องชี้หลายมิติเข้าใกล้ระดับก่อนเกิด COVID-19 มากขึ้น ขณะที่รายได้ภาคเกษตรยังคงอยู่ในระดับสูงแม้ขยายตัวชะลอลง และการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่ากิจกรรมการผลิตในบางอุตสาหกรรมได้กลับมาอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนเกิด COVID-19 แล้ว เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องจักร อย่างไรก็ตามการส่งออกที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยได้หดตัวลงตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาตามอุปสงค์โลกที่อ่อนแอลง แต่เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดยคาดว่าการส่งออกจะปรับดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ที่มา :  https://www.bam.co.th/article/278

Powered by Froala Editor

Share: